อำนาจหน้าที่ของ อบต.
อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562)
1.พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
2.มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้
2.1จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
2.2การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
2.3ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
2.4ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
2.5ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
2.6ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ
2.7คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.8บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
2.9ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
3.มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้
3.1ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
3.2ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
3.3ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
3.4ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
3.5ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
3.6ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
3.7บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
3.8การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
3.9หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
3.10ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
3.11กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
3.12การท่องเที่ยว
3.13การผังเมือง
อำนาจ หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบล แต่ต้องแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบล่วงหน้าตามสมควร ในกรณีนี้หากองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดัง กล่าว ให้กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ นำความเห็นขององค์การบริหารส่วนตำบลไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย
เพื่อ ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมี สิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนิน กิจการของทางราชการในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับการรักษา ความมั่นคงแห่งชาติ
องค์การ บริหารส่วนตำบลอาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ ได้ แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ใน ส่วนของการบริหารงานนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลมีการจัดแบ่งการบริหารงานออกเป็น สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และส่วนต่าง ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้ตั้งขึ้น โดยมีพนักงานส่วนตำบลเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลชั่วคราวได้โดยไม่ขาด จากต้นสังกัดเดิม โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจอนุญาตได้ตามความจำเป็น และในกรณีที่เป็นข้าราชการซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ให้กระทรวงมหาดไทยทำความตกลงกับหน่วยงานต้นสังกัดก่อนแต่งตั้ง
นอก จากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำกิจการนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหรือ ร่วมกับสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และกิจการนั้นเป็นกิจการที่จำเป็นต้องทำและเป็นการเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน
รายละเอียด
-
คู่มือรับขึ้นทะเบียนเบี้ยยังชีพ
นโยบาย "นายทรงศักดิ์ คเชนทร์"
"พัฒนาและแก้ไขปัญหาให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อประโยชน์สูงสุด ของประชาชนชาวพิปูน"
นโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพิปูน มีดังนี้
1. นโยบายด้านเศรษฐกิจ
1. วัตถุปรสงค์
1.1. เพื่อให้ประชากรเข้าถึงและสะดวกต่อการประกอบอาชีพ
1.2. เพื่อส่งเสริมการมีงานทำและสร้างอาชีพเสริมรายได้แก่ครัวเรือน
1.3. เพื่อการบริหารการจัดเก็บรายได้เข้าองค์กรเพิ่มขึ้น
2. เป้าหมาย
2.1. ให้ประชาชนได้มีเส้นทางลำเลียงผลผลิตออกสู่ท้องตลาด
2.2. ให้ครัวเรือนมีอาชีพเสริมไม่น้อยกว่า 30% ของครัวเรือนทั้งหมด
2.3. ให้ประชาชนในพื่นที่ได้ชำระค่าภาษีให้องค์กรตามเป้าหมาย
3. แนวทางการดำเนินงาน
3.1. บุกเบิกก่อสร้างถนนและสะพานให้เข้าถึงพื้นที่ทำการเกษตรของประชาชน
3.2. อุดหนุนส่งเสริมกลุ่มองค์กรภาคเกษตรและอุตสาหกรรมที่ต้องการสร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน
3.3. ส่งเสริมดำเนินการให้มีการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ทำกินของราษฏร
2. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1. วัตถุปรสงค์
1.1. เพื่อให้มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกใช้ตลอดปี
1.2. เพื่อให้มีน้ำอุปโภคบริโภคตลอดปี
1.3. เพื่อจัดสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้บริการประชาชน
2. เป้าหมาย
2.1. ปรับปรุงซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมในเขตพื้นที่ตำบล
2.2. ปรับปรุงซ่อมแซมระบบประปา แหล่งน้ำภายในเขตพื้นที่
2.3. ซ่อมแซมติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างภายในเขตพื้นที่ตามความจำเป็น
3. แนวทางการดำเนินงาน
3.1. ปรับปรุงซ่อมแซมและก่อสร้างถนนในเขตพื้นที่ตามความจำเป็น
3.2. ปรับปรุงซ่อมแซมและก่อสร้างทางระบายน้ำและท่อระบายน้ำ
3.3. ซ่อมแซมและก่อสร้างระบบประปา ฝายกั้นน้ำ
3. นโยบายด้านโครงสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
1. วัตถุปรสงค์
1.1. เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
1.2. เพื่อสร้างสรรค์สังคมให้อยู่อย่างมีภูมิคุ้มกัน
1.3. เพื่อลดปัญหาสังคมที่มีอยู่ปัจจุบัน
2. เป้าหมาย
2.1. ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติ
2.2. ส่งเสริมให้ชุมชนอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มอย่างมีเป้าหมาย
2.3. สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันครัวเรือนและชุมชน
2.4. ส่งเสริมหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการชุมชน
3. แนวทางการดำเนินงาน
3.1. สนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล ในการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่
3.2. สนับสนุนส่งเสริมหลักประกันสุขภาพชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
3.3. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกองทุนสวัสดิการชุมชน
3.4. ส่งเสริมสนับสนุนการตรวจรักษาสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มอายุ
3.5. เฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคระบาดอย่างต่อเนื่องและทันเหตุการณ์
3.6. ให้การสงเคราะห์ราษฏร์ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการและคนชรา และสนับสนุนศูนย์สงเคราะห์ราษฎร์ประจำหมู่บ้าน ตามความเป็นจริง
3.7. ส่งเสริมสนับสนุนองค์กร อ.ส.ม. ให้มีบทบาทกับชุมชน
4. นโยบายด้านการเมืองและการปกครอง
1. วัตถุปรสงค์
1.1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีบทบาทในการบริหารงานปกครองท้องถิ่นอย่างถูกต้อง
1.2. เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ท้องที่และประชาชนในเขตบริการ
1.3. เพื่อพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน
2. เป้าหมาย
2.1. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม
2.2. สร้างความปรกติสุขและความร่มเย็นให้เกิดขึ้นภายในชุมชน
2.3. พัฒนาบุคลากรให้มีขีดความรู้ความสามารถเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่
2.4. ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างทันเหตูการณ์
3. แนวทางการดำเนินงาน
3.1. จัดให้มีการส่งเสริมระบบประชาคมหมู่บ้านตำบล และเครือข่ายประชาชนอื่นๆให้เข้ามามีบทบาทแสะส่วนร่วมในการคิดแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
3.2. ส่งเสริมสนับสนุนการดูแลความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
3.3. ส่งเสริมสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยต่างๆ ในเขตพื้นที่บริการ
3.4. ส่งเสริมการฝึกอบรมเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในหน่วยงาน
3.5. สนับสนุนการดำเนินงานของหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านและการประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านอื่นๆ
3.6. บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม โปร่งใสและตรวจสอบได้
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
คลิ๊กที่นี่
ประกาศนโยบายกลยุทธ์การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
นโยบาย "นายทรงศักดิ์ คเชนทร์"
"พัฒนาและแก้ไขปัญหาให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อประโยชน์สูงสุด ของประชาชนชาวพิปูน"
5. นโยบายการศึกษา ศาสนา วัฒธรรม
1. วัตถุปรสงค์
1.1. เพื่อส่งเสริมการศึกษาให้ประชาชนอ่านออกเขียนได้
1.2. เพื่ออนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นและวัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่สืบไป
1.3. เพื่อส่งเสริมพิธีกรรมทางศาสนา อนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุ
2. เป้าหมาย
2.1. สิ่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้เข้าถึงการศึกษาภาคบังคับ
2.2. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมประเพณีท้องถิ่นและอนุรักษ์วัฒธรรมพื้นบ้านให้สืบทอดสู่คนรุ่นหลัง
2.3. สนับสนุนให้มีการอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุ ในเขตพื้นที่ตำบล
3. แนวทางการดำเนินงาน
3.1. สนับสนุนงบประมาณในการศึกษาทุกระดับของประชาชน
3.2. ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเตรียมพื้นที่เปิดศูนย์ฯ แห่งใหม่ตามความเหมาะสม
3.3. ส่งเสริมสนับสนุนจัดกิจกรรมประเพณีงานประจำปีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
3.4. ส่งเสริมสนับสนุนการทำนุบำรุงโบราณสถานและโบราณวัตถุของวัดโบราณาราม
6. นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. วัตถุปรสงค์
1.1. เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.2. เพื่อรักษาความสะอาดของถนนทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ
1.3. เพื่อกำจัดขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล
2. เป้าหมาย
2.1. จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.2. ปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้สองข้างถนนทุกสายและสถานที่สาธารณะทุกแห่ง
2.3. กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้ตกค้างในเขตพื้นที่ชุมชน
2.4. รักษาความสะอาดของทางเดิน ทางน้ำ ถนน และที่สาธารณะในเขตพื้นที่
3. แนวทางการดำเนินงาน
3.1. สนับสนุนงบประมาณในการจัดฝึกอบรมอาสาสมัคอนุรักษ์ธรรมชาติ
3.2. สนับสนุนให้มีการปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ตามสถานที่สาธารณะทุกแห่ง
3.3. สนับสนุนให้มีการจัดเก็บขยะมูลฝอยในเขตชุมชน
3.4. สนับสนุนให้มีการดูและทำความสะอาดสองข้างทางของสองเส้นทางคมนาคมในเขตพื้นที่
7. นโยบายด้านการท่องเที่ยวและกีฬา
1. วัตถุปรสงค์
1.1. เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลให้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงนักท่องเที่ยวทั่วไป
1.2. เพื่อยกระดับรายได้ของ อบต.พิปูนจากธุรกิจการท่องเที่ยว
1.3. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และการพัฒนาทางด้านกีฬาไปสู่อาชีพทางเลือกของเยาวชน
2. เป้าหมาย
2.1. พัฒนาเส้นทางสู่แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติในพื้นที่
2.2. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ชุมชนให้มีความสะดวกในการรองรับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น
2.3. สนับสนุนให้ทุกหมู่บ้านชุมชนมีสถานที่ออกกำลังกายหรือสนามกีฬาตามความจำเป็น
3. แนวทางการดำเนินงาน
3.1. สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างถนน ทางเข้าสู้น้ำตกแสนห่าแหละน้ำตกเหนือฟ้า ฯลฯ
3.2. สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน เช่น บ่อน้ำร้อน วัดโบราณาราม วังอีกาย วังแรด ฯลฯ
3.3. อุดหนุนอุปกรณ์กีฬาให้ชุมชนในเขตพื้นที่
3.4. สนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาประจำตำบล