1. ประชุมการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าในเขตพื้นที่ตำบลพิปูน เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน 2. โดยให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้แก่ชุมชน เรื่องพฤติกรรมของช้างป่าและการปฏิบัติต่อช้าง ทั้งท้องที่ ท้องถิ่นและประชาชน ในการอยู่ร่วมกันกับช้างป่า รวมทั้งสร้างเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์ช้างป่า พัฒนาแหล่งน้ำชุมชนแยกจากแหล่งน้ำช้างป่า ส่งเสริมให้เกิดป่าชุมชนร่วมกับภาครัฐ สร้างกลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวัง ป้องกัน และแจ้งเตือนภัยจากช้างป่าการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่า” ซึ่งจำเป็นต้องใช้วิธีการคืนช้างสู่ป่าอย่างสันติ ไม่ใช้ความรุนแรง ปลอดภัยทั้งต่อช้างป่าและผู้ปฏิบัติงาน ไม่ส่งผลต่อสุขภาพรวมถึงพฤติกรรมของช้างป่า ทั้งนี้ในปัจจุบันหลายพื้นที่ที่ประสบปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ ได้ใช้วิธีการเฝ้าระวังและผลักดันโดยการใช้แสงไฟร่วมกับเสียงคนในการผลักดันช้างป่า ตลอดจนเพื่อกำหนดทิศทางการผลักดันช้างป่ากลับเข้าพื้นที่ การเฝ้าระวังผลักดันช้างป่าด้วยวิธีนี้จะช่วยให้คนปลอดภัย ช้างปลอดภัย คืนช้างสู่ป่าได้อย่างสันติ 3. นอกจากนี้แล้ว ยังได้มีการศึกษาในประเด็นของเรื่องการจ่ายค่าชดเชยความเสียหายต่อการบุกรุก ของช้างป่าที่ทำให้พืชผลทางการเกษตรของเกษตรกรได้รับความเสียหาย แม้ว่าระบบการจ่ายค่าชดเชย ความเสียหาย จะช่วยลดความรู้สึกที่ไม่ดีของเกษตรกรต่อช้าง และลดปัญหาการฆ่าช้าง เนื่องจากเกษตรกร มีความรู้สึกว่าได้รับการช่วยเหลือในทันที แต่ในระยะยาว การจ่ายค่าชดเชยจะทำให้เกษตรกรไม่มีส่วนร่วม ในการจัดการปัญหา ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเรื้อรังต่อไป ในขณะเดียวกันอาจไม่ได้ลดระดับความรุนแรงของปัญหา ความขัดแย้งระหว่างคนและช้าง และในที่สุดภาครัฐไม่อาจแบกรับภาระในการจ่ายเงินชดเชยได้เพียงพอ จึงเท่ากับเป็นการใช้งบประมาณเพื่อการอนุรักษ์อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ได้มีการเสนอความเห็นให้ การจ่ายค่าชดเชยความเสียหายจะต้องเชื่อมโยงกับการแก้ปัญหาหรือสร้างแรงจูงใจให้เกิดการอนุรักษ์ในระยะยาว เท่านั้น เช่น อาจพิจารณาจ่ายค่าชดเชยระดับหนึ่งให้กับสมาชิกเกษตรที่เป็นอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าและ ช่วยตรวจตราการบุกรุกทำลายป่า หรือเป็นเกษตรกรที่ให้ความร่วมมือต่อการอนุรักษ์การป้องกันช้างด้วยตนเอง 4. เพื่อจะได้มีการเตรียมตัวป้องกัน ระงับเหตุ การบุกรุกจากช้างป่า ได้อย่างทันท่วงที เช่น นำระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบพฤติกรรมของช้างป่า หรือการเคลื่อนย้ายถิ่นในการหาอาหาร เป็นต้น ในขณะเดียวกันการดำเนินนโยบายของภาครัฐด้วยการบริหาร จัดการความเสี่ยงจากภัยช้างป่าผ่านระบบการประกันภัยพืชผล เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรที่ส่งผลต่อ การประกอบอาชีพและป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากช้างป่า ซึ่งแผนการจัดการช้างป่าและ การประกันภัยพืชผล นับเป็นรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยให้คนกับช้างป่าสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความยั่งยืน ต่อไป


ประมวลภาพกิจกรรม






Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page

เกี่ยวกับหน่วยงาน